ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การพัฒนาบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง การจัดการสารสนเทศสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

 

การพัฒนาบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง การจัดการสารสนเทศสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
The development of web-base instruction on information management for grade 7 students


Organization : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง การจัดการสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วยบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนไทรโยคมณีกาญจน์วิทยา จำนวน 70 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่มจำนวน 2 ห้องเรียน คือ ห้องเรียนที่ 1 เป็นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ทดสอบเพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จำนวน 35 คน และห้องเรียนที่ 2 เป็นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ทดสอบเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนจำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง การจัดการสารสนเทศแบบประเมินคุณภาพของบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การจัดการสารสนเทศ ซึ่งมีค่าความยากง่ายระหว่าง 0.43 - 0.73 และค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.20 - 0.55 ค่าความเชื่อถือได้เท่ากับ 0.75 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีชนิดสองกลุ่มไม่เป็นอสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง การจัดการสารสนเทศโดยมีคุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดี และด้านเทคนิคการผลิตสื่ออยู่ในระดับดีมาก การพัฒนาบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง การจัดการสารสนเทศ มีค่าประสิทธิภาพ E₁/E₂ เท่ากับ 82.29/87.57 และนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การจัดการสารสนเทศ หลังเรียนด้วยบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. สำนักหอสมุดกลาง


อุทุมพร พันธ์หนอย (2561)  การพัฒนาบทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง การจัดการสารสนเทศสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1.
วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (การศึกษาวิทยาศาสตร์-คอมพิวเตอร์) คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี  
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.






ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แนวทางการแก้ปัญหาในการบริหารการศึกษาและแนวโน้มในอนาคต

 RED 7316 หัวข้อพิเศษทางนวัตกรรมการบริหารการศึกษา แนวทางการแก้ปัญหาในการบริหารการศึกษาและแนวโน้มในอนาคต นักศึกษาปริญญาโท นวัตกรรมการบริหารการศึกษา วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วันเสาร์ที่  12  มีนาคม 2564 เวลา 9.00-16.00 น. (พัก 15 นาที 10.30-10.45 น.) (พักรับประทานอาหารกลางวัน   12.00-13.00 น.) (พัก 15 นาที 14.40-14.55 น.) **** ช่วงบ่ายเลือกปัญหาในการบริหารการศึกษา เสนอแนวทางแก้ไขปัญหา และแนวโน้มในอนาคต)  ***** แนวทางการแก้ปัญหาในการบริหารการศึกษาและแนวโน้มในอนาคต (10 คะแนน)  - กำหนดให้นักศึกษาทุกท่านเลือกปัญหาของการบริหารการศึกษา  1 เรื่อง  ส่งใน Chat - เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาในมุมมองของการบริหารการศึกษา - เสนอนวัตกรรมในการแก้ไขปัญหาในมุมมองของผู้บริหาร - เสนอแนวโน้มในอนาคต ว่าปัญหาจะคงอยู่  จะลดลง หรือจะหมดไป  ให้ส่งเป็นไฟล์เอกสาร ระบุชื่อ-นามสกุล จำนวน 5 หน้ากระดาษ A4 ---------------------------------------------------------------------------------------- วิทยากร  ศาสตราจารย์ ด...

การประเมินความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรมเพื่อการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะของข้าราชการครู สาขาช่างอุตสาหกรรมของสถานศึกษากลุ่มภาคกลาง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

  Title การประเมินความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรมเพื่อการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะของข้าราชการครู สาขาช่างอุตสาหกรรมของสถานศึกษากลุ่มภาคกลาง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา Title Alternative Needs assessment of training for competency-based learning management of technical teachers in the central region under the jurisdiction of the office of vocational education commission Creator Name:   ดาวรุ่ง อินนอก Subject ThaSH:   การประเมินความต้องการจำเป็น ThaSH:   การศึกษาแบบสามัตถิยฐาน ThaSH:   ครู  --  ความต้องการการฝึกอบรม Description Abstract:  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการดำเนินการของผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ และหัวหน้าแผนก/หัวหน้าสาขาวิชา/หัวหน้างานพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนในการฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะ 2) เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรมเพื่อการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะของข้าราชการครู สาขาช่างอุตสาหกรรม สถานศึกษากลุ่มภาคกลาง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง ...

การจัดการเรียนการสอนวิชาสารสนเทศศาสตร์ในประเทศไทย

  การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสังเคราะห์หลักสูตรระดับปริญญาตรีที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพสารสนเทศในประเทศไทยและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เอกสาร (Content Analysis) จากหลักสูตร เว็บไซต์ และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  ซึ่งผลการวิจัยมี 3 ข้อดังนี้ 1) หลักสูตรที่เปิดสอนในระดับปริญญาตรีในประเทศไทย มีทั้งหมด 34 หลักสูตร   ใช้ชื่อที่แตกต่างกัน 9 สาขาวิชา แบ่งเป็นกลุ่มสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ จำนวน 9 หลักสูตร  กลุ่มสาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ จำนวน 19 หลักสูตร และกลุ่มสาขาวิชาการจัดการสารสนเทศ  จำนวน 6 หลักสูตร ส่วนมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนจำแนกเป็น  มหาวิทยาลัยของรัฐที่เปิดสอนมี 8 แห่ง  มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐที่เปิดสอนมี 7 แห่ง  มหาวิทยาลัยราชภัฏที่เปิดสอนมี 16 แห่ง และมหาวิทยาลัยเอกชนที่เปิดสอนมี 3 แห่ง  2) โครงสร้างหลักสูตรของหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพสารสนเทศ ส่วนใหญ่กำหนดจำนวนหน่วยกิตวิชาบังคับตั้งแต่ 31-46 หน่วยกิต (ร้อยละ 52.94)  และกำหนดจำนวนหน่วยกิตวิชาเลือกตั้งแต่ 22-32 หน่วยกิต (ร้...