ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

รูปแบบการจัดการเรียนรู้สําหรับผู้สูงอายุประเทศไทย เพื่อการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

 

บทคัดย่อ (Abstract)

การวิจัยเรื่องรูปแบบการจัดการเรียนรู้สําหรับผู้สูงอายุประเทศไทยเพื่อการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาและสํารวจขีดความสามารถการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสําหรับผู้สูงอายุไทย 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้สําหรับผู้สูงอายุประเทศไทยเพื่อการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ 3) ประเมินรูปแบบการจัดการเรียนรู้สําหรับผู้สูงอายุประเทศไทยเพื่อการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การดําเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 สํารวจขีดความสามารถการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจากกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ 1) ผู้สูงอายุที่ใช้แอปพลิเคชันไลน์ (LINE) เป็นประจําทุกวัน จาก 10 จังหวัด ที่มีอัตราการใช้อินเทอร์เน็ตสําหรับผู้สูงอายุสูงสุดในประเทศ ไทย จํานวน 400 คน (การสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย) 2) ผู้สูงอายุที่ใช้แอปพลิเคชันไลน์ (LINE) เป็นประจําทุกวัน จาก 10 จังหวัด ที่มีอัตราการใช้อินเทอร์เน็ตสําหรับผู้สูงอายุสูงสุดในประเทศไทย จํานวน 15 คน (การสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย) 3) ผู้สูงอายุและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีประสบการณ์และความรู้เกี่ยวกับผู้สูงอายุเกินกว่า 3 ปี จาก 10 จังหวัดที่มีอัตราการใช้อินเทอร์เน็ตสําหรับผู้สูงอายุสูงสุดในประเทศไทย จํานวน 10 คน (การสุ่มตัวอย่างเฉพาะเจาะจง) รูปแบบการจัดการเรียนรู้สําหรับผู้สูงอายุประเทศไทยเพื่อการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ 1) การรับข้อมูล (Receive) จากการปฏิบัติพฤติกรรมต่างๆ ที่ถูกเรียกว่า
โซเชียล (Social) ในยุคปัจจุบัน ได้แก่ การสืบค้น การสานต่อ การสมัคร การสะสม และการสอนและสร้างสัมพันธ์ 2) การหยุดคิด (Think) เพื่อพิจารณาคิดไตร่ตรองข้อมูลที่ได้รับมาโดยใช้หลักการ 5ส ซึ่งประกอบด้วย สมจริง สร้างประโยชน์ สําคัญ สร้างสรรค์ และ สุภาพเหมาะสม 3) การปฏิบัติ (Act) เป็นพฤติกรรมหลักใหม่ของผู้สูงอายุในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารต่างๆ หลังจากได้ใช้หลัก 5 ส ในการประเมินข้อมูล เพื่อการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบ โดยการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) และขั้นตอนที่ 3 การประเมินรูปแบบ โดยการทดลองจัดการเรียนรู้ผ่านกลุ่มตัวอย่าง จํานวน 30 คน โดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง และการประเมินยืนยันรูปแบบ สถิติการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุมีขีดความสามารถการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเฉลี่ยในระดับปานกลาง
(X= 2.85) โดยมีขีดความสามารถระดับปานกลางของการเข้าถึง การประเมิน การรวมรวม การจัดการ และระดับต่ำในเรื่องของการสร้าง และขั้นตอนการสร้างรูปแบบและขั้นตอนการประเมินยืนยันรูปแบบ พบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มีความพึงพอใจระดับสูง (X= 4.32) และผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นสอดคล้องในระดับมากที่สุด (X= 0.92)



พิมพ์ใจ ทายะติ (2560) รูปแบบการจัดการเรียนรู้สําหรับผู้สูงอายุประเทศไทย เพื่อการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. 



















ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แนวทางการแก้ปัญหาในการบริหารการศึกษาและแนวโน้มในอนาคต

 RED 7316 หัวข้อพิเศษทางนวัตกรรมการบริหารการศึกษา แนวทางการแก้ปัญหาในการบริหารการศึกษาและแนวโน้มในอนาคต นักศึกษาปริญญาโท นวัตกรรมการบริหารการศึกษา วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วันเสาร์ที่  12  มีนาคม 2564 เวลา 9.00-16.00 น. (พัก 15 นาที 10.30-10.45 น.) (พักรับประทานอาหารกลางวัน   12.00-13.00 น.) (พัก 15 นาที 14.40-14.55 น.) **** ช่วงบ่ายเลือกปัญหาในการบริหารการศึกษา เสนอแนวทางแก้ไขปัญหา และแนวโน้มในอนาคต)  ***** แนวทางการแก้ปัญหาในการบริหารการศึกษาและแนวโน้มในอนาคต (10 คะแนน)  - กำหนดให้นักศึกษาทุกท่านเลือกปัญหาของการบริหารการศึกษา  1 เรื่อง  ส่งใน Chat - เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาในมุมมองของการบริหารการศึกษา - เสนอนวัตกรรมในการแก้ไขปัญหาในมุมมองของผู้บริหาร - เสนอแนวโน้มในอนาคต ว่าปัญหาจะคงอยู่  จะลดลง หรือจะหมดไป  ให้ส่งเป็นไฟล์เอกสาร ระบุชื่อ-นามสกุล จำนวน 5 หน้ากระดาษ A4 ---------------------------------------------------------------------------------------- วิทยากร  ศาสตราจารย์ ด...

การประเมินความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรมเพื่อการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะของข้าราชการครู สาขาช่างอุตสาหกรรมของสถานศึกษากลุ่มภาคกลาง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

  Title การประเมินความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรมเพื่อการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะของข้าราชการครู สาขาช่างอุตสาหกรรมของสถานศึกษากลุ่มภาคกลาง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา Title Alternative Needs assessment of training for competency-based learning management of technical teachers in the central region under the jurisdiction of the office of vocational education commission Creator Name:   ดาวรุ่ง อินนอก Subject ThaSH:   การประเมินความต้องการจำเป็น ThaSH:   การศึกษาแบบสามัตถิยฐาน ThaSH:   ครู  --  ความต้องการการฝึกอบรม Description Abstract:  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการดำเนินการของผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ และหัวหน้าแผนก/หัวหน้าสาขาวิชา/หัวหน้างานพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนในการฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะ 2) เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรมเพื่อการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะของข้าราชการครู สาขาช่างอุตสาหกรรม สถานศึกษากลุ่มภาคกลาง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง ...

การจัดการเรียนการสอนวิชาสารสนเทศศาสตร์ในประเทศไทย

  การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสังเคราะห์หลักสูตรระดับปริญญาตรีที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพสารสนเทศในประเทศไทยและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เอกสาร (Content Analysis) จากหลักสูตร เว็บไซต์ และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  ซึ่งผลการวิจัยมี 3 ข้อดังนี้ 1) หลักสูตรที่เปิดสอนในระดับปริญญาตรีในประเทศไทย มีทั้งหมด 34 หลักสูตร   ใช้ชื่อที่แตกต่างกัน 9 สาขาวิชา แบ่งเป็นกลุ่มสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ จำนวน 9 หลักสูตร  กลุ่มสาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ จำนวน 19 หลักสูตร และกลุ่มสาขาวิชาการจัดการสารสนเทศ  จำนวน 6 หลักสูตร ส่วนมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนจำแนกเป็น  มหาวิทยาลัยของรัฐที่เปิดสอนมี 8 แห่ง  มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐที่เปิดสอนมี 7 แห่ง  มหาวิทยาลัยราชภัฏที่เปิดสอนมี 16 แห่ง และมหาวิทยาลัยเอกชนที่เปิดสอนมี 3 แห่ง  2) โครงสร้างหลักสูตรของหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพสารสนเทศ ส่วนใหญ่กำหนดจำนวนหน่วยกิตวิชาบังคับตั้งแต่ 31-46 หน่วยกิต (ร้อยละ 52.94)  และกำหนดจำนวนหน่วยกิตวิชาเลือกตั้งแต่ 22-32 หน่วยกิต (ร้...