ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต: ระบบการจัดการฐานข้อมูล


การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต: ระบบการจัดการฐานข้อมูล

Main Article Content

พัชราภรณ์ วรโชติกําจร
ฐะณุพงศ์ ศรีกาฬสินธุ์

Abstract

การวิจัยเรื่องการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต: ระบบการจัดการฐานข้อมูล มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต รายวิชา ระบบการจัดการฐานข้อมูลนําเสนอผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนก่อนเรียน และหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น และ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต: ระบบการจัดการฐานข้อมูล เป็นรูปแบบการวิจัยและพัฒนา โดยดําเนินการร่วมกันระหว่างผู้วิจัย ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาด้านสื่อการศึกษา และนิสิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ และผู้เรียน กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา จํานวน 3 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อการศึกษา จํานวน 5 คน จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้เรียน จากการเลือกแบบเจาะจง จากนิสิตวิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 จํานวน 34 คน ซึ่งต้องศึกษารายวิชา “ระบบการจัดการฐานข้อมูล” โดยสามารถสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ 1. การตรวจสอบคุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต: ระบบการจัดการฐานข้อมูล ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จากผลการวิจัยเชิงทดลอง จํานวน 3 ครั้ง พบว่า การทดลองครั้งที่ 1 บทเรียนมีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.43/92.23 การทดลองครั้งที่ 2 บทเรียนมีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.17/92.60 และการทดลองครั้งที่ 3 บทเรียนมีประสิทธิภาพเท่ากับ 83/88.50 และเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ 2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตวิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เมื่อใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต: ระบบการจัดการฐานข้อมูล จากผลการวิจัยพบว่า ในแต่ละหน่วยการเรียนและรวมหน่วยการเรียนทั้งหมด นิสิตในกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยหลังใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. การสํารวจความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต: ระบบการจัดการฐานข้อมูล จากผลการวิจัยพบว่า ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อสื่ออยู่ในเกณฑ์ระดับมาก และพบว่าผู้เรียนมีความพึงพอใจระดับมากในทุกๆด้าน โดยมีคะแนนรวมเรียงจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการนํา เสนอเนื้อหาด้านรูปแบบการเรียนการสอน และด้านกิจกรรมการเรียนรู้ของบทเรียนและเว็บไซต์ ตามลําดับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แนวทางการแก้ปัญหาในการบริหารการศึกษาและแนวโน้มในอนาคต

 RED 7316 หัวข้อพิเศษทางนวัตกรรมการบริหารการศึกษา แนวทางการแก้ปัญหาในการบริหารการศึกษาและแนวโน้มในอนาคต นักศึกษาปริญญาโท นวัตกรรมการบริหารการศึกษา วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วันเสาร์ที่  12  มีนาคม 2564 เวลา 9.00-16.00 น. (พัก 15 นาที 10.30-10.45 น.) (พักรับประทานอาหารกลางวัน   12.00-13.00 น.) (พัก 15 นาที 14.40-14.55 น.) **** ช่วงบ่ายเลือกปัญหาในการบริหารการศึกษา เสนอแนวทางแก้ไขปัญหา และแนวโน้มในอนาคต)  ***** แนวทางการแก้ปัญหาในการบริหารการศึกษาและแนวโน้มในอนาคต (10 คะแนน)  - กำหนดให้นักศึกษาทุกท่านเลือกปัญหาของการบริหารการศึกษา  1 เรื่อง  ส่งใน Chat - เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาในมุมมองของการบริหารการศึกษา - เสนอนวัตกรรมในการแก้ไขปัญหาในมุมมองของผู้บริหาร - เสนอแนวโน้มในอนาคต ว่าปัญหาจะคงอยู่  จะลดลง หรือจะหมดไป  ให้ส่งเป็นไฟล์เอกสาร ระบุชื่อ-นามสกุล จำนวน 5 หน้ากระดาษ A4 ---------------------------------------------------------------------------------------- วิทยากร  ศาสตราจารย์ ด...

การจัดการเรียนการสอนวิชาสารสนเทศศาสตร์ในประเทศไทย

  การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสังเคราะห์หลักสูตรระดับปริญญาตรีที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพสารสนเทศในประเทศไทยและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เอกสาร (Content Analysis) จากหลักสูตร เว็บไซต์ และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  ซึ่งผลการวิจัยมี 3 ข้อดังนี้ 1) หลักสูตรที่เปิดสอนในระดับปริญญาตรีในประเทศไทย มีทั้งหมด 34 หลักสูตร   ใช้ชื่อที่แตกต่างกัน 9 สาขาวิชา แบ่งเป็นกลุ่มสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ จำนวน 9 หลักสูตร  กลุ่มสาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ จำนวน 19 หลักสูตร และกลุ่มสาขาวิชาการจัดการสารสนเทศ  จำนวน 6 หลักสูตร ส่วนมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนจำแนกเป็น  มหาวิทยาลัยของรัฐที่เปิดสอนมี 8 แห่ง  มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐที่เปิดสอนมี 7 แห่ง  มหาวิทยาลัยราชภัฏที่เปิดสอนมี 16 แห่ง และมหาวิทยาลัยเอกชนที่เปิดสอนมี 3 แห่ง  2) โครงสร้างหลักสูตรของหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพสารสนเทศ ส่วนใหญ่กำหนดจำนวนหน่วยกิตวิชาบังคับตั้งแต่ 31-46 หน่วยกิต (ร้อยละ 52.94)  และกำหนดจำนวนหน่วยกิตวิชาเลือกตั้งแต่ 22-32 หน่วยกิต (ร้...

Digital Literacy: A Palestinian Refugee Perspective

  Digital Literacy: A Palestinian Refugee Perspective Traxler, John Research in Learning Technology , v26 2018 This paper is the first attempt to explore digital literacy in the specific context of the Palestinian refugee community in the Middle East by looking at the cultural specificity of digital literacy theorising and practice, by analysing current digital education policy in the countries hosting the Palestinian refugee community and by documenting the digital environment of the Palestinian refugee. It identifies the distance or deficit between the community's current access to digital literacy education, appropriately defined, and its digital environment, needs and opportunities. Finally, the paper provides a brief agenda for further empirical research. Descriptors:  Technological Literacy ,  Refugees ,  Foreign Countries ,  Educational Policy ,  Theory Practice Relationship ,  Technology Education ,  Information Technology ,  Semitic ...