ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ของศึกษานิเทศก์ ตามทัศนะของผู้บริหาร และครูวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี


ผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ของศึกษานิเทศก์ ตามทัศนะของผู้บริหาร และครูวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี
 



Organization : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต 3 จ.กาญจนบุรี
ThaSH: 

Classification :.DDC: 370.2
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ของศึกษานิเทศก์ เปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ของศึกษานิเทศก์ ตามทัศนะของผู้บริหารและครูวิชาการ รวมทั้งศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์ ตามทัศนะของ ผู้บริหารและครูวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษาและครูวิชาการ จำนวน 284 คน จำแนกเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 142 คน และครูวิชาการ จำนวน 142 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น (reliability) เท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที (t-test) ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ของศึกษานิเทศก์ ตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษา และครูวิชาการ โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับปานกลาง เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยเป็นรายด้าน คือ ด้านการพัฒนางานวิชาการ ด้านการวิจัย ประเมินผลและบริการ และด้านการพัฒนาการนิเทศการศึกษา 2. เปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ของศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษากาญจนบุรี ตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษา และครูวิชาการ ทั้งในภาพรวมเป็นรายด้านและรายข้อ ไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 3. ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์ ตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษา และครูวิชาการ จำแนกเป็นรายด้าน ดังนี้ 3.1 ปัญหาการปฏิบัติงานด้านการพัฒนางานวิชาการของศึกษานิเทศก์ ที่พบมากที่สุด คือ จำนวนศึกษานิเทศก์มีน้อยไม่เพียงพอกับปริมาณงาน มีแนวทางแก้ปัญหา คือ เพิ่มจำนวนศึกษานิเทศก์ ให้เพียงพอกับปริมาณงาน สร้างเครือข่ายการนิเทศ และพัฒนาให้สถานศึกษามีระบบนิเทศภายใน 3.2 ปัญหาการปฏิบัติงานด้านการพัฒนาการนิเทศการศึกษาของศึกษานิเทศก์ ที่พบมากที่สุด คือ ช่วงเวลาที่ศึกษานิเทศก์ปฏิบัติงานในสถานศึกษาน้อยเกินไป มีแนวทางแก้ปัญหา คือ ศึกษานิเทศก์ควรปฏิบัติงานในสถานศึกษาให้มากขึ้น ควรนิเทศเป็นทีม เพื่อให้ได้หลายงานในเวลาเดียวกัน และสร้างเครือข่ายการนิเทศ 3.3. ปัญหาการปฏิบัติงานด้านการวิจัย ประเมินผลและบริการของศึกษานิเทศก์ ที่พบมากที่สุดคือ การจัดทำเอกสารเผยแพร่ยังมีน้อย มีแนวทางแก้ปัญหา คือ ควรจัดทำเอกสารเผยแพร่ให้มากขึ้น พัฒนาครูเพื่อเป็นเครือข่ายทางวิชาการ และจัดทำนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเป็นแหล่งค้นคว้า
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

Address: กาญจนบุรี

Email: tdc@kru.ac.th

Role: ประธานกรรมการที่ปรึกษา

Role: กรรมการที่ปรึกษา

Role: กรรมการที่ปรึกษา
Created: 2548

Issued: 2548-09-30
วิทยานิพนธ์/Thesis
application/pdf

ISBN: 9747540878
tha
©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แนวทางการแก้ปัญหาในการบริหารการศึกษาและแนวโน้มในอนาคต

 RED 7316 หัวข้อพิเศษทางนวัตกรรมการบริหารการศึกษา แนวทางการแก้ปัญหาในการบริหารการศึกษาและแนวโน้มในอนาคต นักศึกษาปริญญาโท นวัตกรรมการบริหารการศึกษา วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วันเสาร์ที่  12  มีนาคม 2564 เวลา 9.00-16.00 น. (พัก 15 นาที 10.30-10.45 น.) (พักรับประทานอาหารกลางวัน   12.00-13.00 น.) (พัก 15 นาที 14.40-14.55 น.) **** ช่วงบ่ายเลือกปัญหาในการบริหารการศึกษา เสนอแนวทางแก้ไขปัญหา และแนวโน้มในอนาคต)  ***** แนวทางการแก้ปัญหาในการบริหารการศึกษาและแนวโน้มในอนาคต (10 คะแนน)  - กำหนดให้นักศึกษาทุกท่านเลือกปัญหาของการบริหารการศึกษา  1 เรื่อง  ส่งใน Chat - เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาในมุมมองของการบริหารการศึกษา - เสนอนวัตกรรมในการแก้ไขปัญหาในมุมมองของผู้บริหาร - เสนอแนวโน้มในอนาคต ว่าปัญหาจะคงอยู่  จะลดลง หรือจะหมดไป  ให้ส่งเป็นไฟล์เอกสาร ระบุชื่อ-นามสกุล จำนวน 5 หน้ากระดาษ A4 ---------------------------------------------------------------------------------------- วิทยากร  ศาสตราจารย์ ด...

การประเมินความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรมเพื่อการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะของข้าราชการครู สาขาช่างอุตสาหกรรมของสถานศึกษากลุ่มภาคกลาง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

  Title การประเมินความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรมเพื่อการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะของข้าราชการครู สาขาช่างอุตสาหกรรมของสถานศึกษากลุ่มภาคกลาง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา Title Alternative Needs assessment of training for competency-based learning management of technical teachers in the central region under the jurisdiction of the office of vocational education commission Creator Name:   ดาวรุ่ง อินนอก Subject ThaSH:   การประเมินความต้องการจำเป็น ThaSH:   การศึกษาแบบสามัตถิยฐาน ThaSH:   ครู  --  ความต้องการการฝึกอบรม Description Abstract:  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการดำเนินการของผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ และหัวหน้าแผนก/หัวหน้าสาขาวิชา/หัวหน้างานพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนในการฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะ 2) เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรมเพื่อการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะของข้าราชการครู สาขาช่างอุตสาหกรรม สถานศึกษากลุ่มภาคกลาง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง ...

การจัดการเรียนการสอนวิชาสารสนเทศศาสตร์ในประเทศไทย

  การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสังเคราะห์หลักสูตรระดับปริญญาตรีที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพสารสนเทศในประเทศไทยและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เอกสาร (Content Analysis) จากหลักสูตร เว็บไซต์ และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  ซึ่งผลการวิจัยมี 3 ข้อดังนี้ 1) หลักสูตรที่เปิดสอนในระดับปริญญาตรีในประเทศไทย มีทั้งหมด 34 หลักสูตร   ใช้ชื่อที่แตกต่างกัน 9 สาขาวิชา แบ่งเป็นกลุ่มสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ จำนวน 9 หลักสูตร  กลุ่มสาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ จำนวน 19 หลักสูตร และกลุ่มสาขาวิชาการจัดการสารสนเทศ  จำนวน 6 หลักสูตร ส่วนมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนจำแนกเป็น  มหาวิทยาลัยของรัฐที่เปิดสอนมี 8 แห่ง  มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐที่เปิดสอนมี 7 แห่ง  มหาวิทยาลัยราชภัฏที่เปิดสอนมี 16 แห่ง และมหาวิทยาลัยเอกชนที่เปิดสอนมี 3 แห่ง  2) โครงสร้างหลักสูตรของหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพสารสนเทศ ส่วนใหญ่กำหนดจำนวนหน่วยกิตวิชาบังคับตั้งแต่ 31-46 หน่วยกิต (ร้อยละ 52.94)  และกำหนดจำนวนหน่วยกิตวิชาเลือกตั้งแต่ 22-32 หน่วยกิต (ร้...