ผลของโปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมที่ใช้การสนับสนุนทางอินเทอร์เน็ตต่อภาวะซึมเศร้าในผู้เสพติดสุรา
ผลของโปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมที่ใช้การสนับสนุนทางอินเทอร์เน็ตต่อภาวะซึมเศร้าในผู้เสพติดสุรา
Main Article Content
Abstract
วัตถุประสงค์: 1) เพื่อเปรียบเทียบภาวะซึมเศร้าในผู้เสพติดสุราก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมที่ใช้การสนับสนุนทางอินเทอร์เน็ต 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะซึมเศร้าในผู้เสพติดสุราระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมที่ใช้การสนับสนุนทางอินเทอร์เน็ตและกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ
แบบแผนงานวิจัย: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง
วิธีดำเนินการวิจัย:กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เสพติดสุราชายที่มีภาวะซึมเศร้าจำนวน 40 ราย ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ ที่เข้ารับการบำบัดรักษาแบบผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลธัญญารักษ์ขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ได้รับการจับคู่ด้วยระดับคะแนนภาวะซึมเศร้า และสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมที่ใช้การสนับสนุนทางอินเทอร์เน็ต ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) โปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมที่ใช้การสนับสนุนทางอินเทอร์เน็ต 2) แบบประเมินภาวะซึมเศร้าของเบค (Beck Depression Inventory) 3) แบบประเมินความคิดอัตโนมัติด้านลบ (Automatic Though Questionnaire) และ 4) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน เครื่องมือ ชุดที่ 2 และ 3 มีค่าความเที่ยงอัลฟาของคอนบราคเท่ากับ .81 และ .89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละและใช้สถิติที
ผลการวิจัย: 1. ภาวะซึมเศร้าในผู้เสพติดสุราชายหลังได้รับโปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมที่ใช้การสนับสนุนทางอินเทอร์เน็ตต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมที่ใช้การสนับสนุนทางอินเทอร์เน็ตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ภาวะซึมเศร้าในผู้เสพติดสุราชายที่ได้รับโปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมที่ใช้การสนับสนุนทางอินเทอร์เน็ตต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
แบบแผนงานวิจัย: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง
วิธีดำเนินการวิจัย:กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เสพติดสุราชายที่มีภาวะซึมเศร้าจำนวน 40 ราย ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ ที่เข้ารับการบำบัดรักษาแบบผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลธัญญารักษ์ขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ได้รับการจับคู่ด้วยระดับคะแนนภาวะซึมเศร้า และสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมที่ใช้การสนับสนุนทางอินเทอร์เน็ต ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) โปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมที่ใช้การสนับสนุนทางอินเทอร์เน็ต 2) แบบประเมินภาวะซึมเศร้าของเบค (Beck Depression Inventory) 3) แบบประเมินความคิดอัตโนมัติด้านลบ (Automatic Though Questionnaire) และ 4) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน เครื่องมือ ชุดที่ 2 และ 3 มีค่าความเที่ยงอัลฟาของคอนบราคเท่ากับ .81 และ .89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละและใช้สถิติที
ผลการวิจัย: 1. ภาวะซึมเศร้าในผู้เสพติดสุราชายหลังได้รับโปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมที่ใช้การสนับสนุนทางอินเทอร์เน็ตต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมที่ใช้การสนับสนุนทางอินเทอร์เน็ตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ภาวะซึมเศร้าในผู้เสพติดสุราชายที่ได้รับโปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมที่ใช้การสนับสนุนทางอินเทอร์เน็ตต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น