ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การประเมินความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรมเพื่อการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะของข้าราชการครู สาขาช่างอุตสาหกรรมของสถานศึกษากลุ่มภาคกลาง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

 Title

การประเมินความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรมเพื่อการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะของข้าราชการครู สาขาช่างอุตสาหกรรมของสถานศึกษากลุ่มภาคกลาง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
Needs assessment of training for competency-based learning management of technical teachers in the central region under the jurisdiction of the office of vocational education commission

Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการดำเนินการของผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ และหัวหน้าแผนก/หัวหน้าสาขาวิชา/หัวหน้างานพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนในการฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะ 2) เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรมเพื่อการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะของข้าราชการครู สาขาช่างอุตสาหกรรม สถานศึกษากลุ่มภาคกลาง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ จำนวน 81 คน กลุ่มที่ 2 หัวหน้าแผนก/หัวหน้าสาขาวิชา/หัวหน้างานพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน 158 คน และกลุ่มที่ 3 ครูผู้สอน จำนวน 255 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม 3 ชุด วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานและวิธีจัดเรียงลำดับความสำคัญความต้องการจำเป็นด้วยวิธี PNImodifiedและวิธี PNI ผลการวิจัยพบว่า 1. การดำเนินการของกลุ่มผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ เรื่องที่ยังไม่ได้ดำเนินการมากที่สุดคือ การกำหนดเกณฑ์ในการประเมินติดตามประเมินผลโครงการฝึกอบรมเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะ ส่วนกลุ่มหัวหน้าแผนก/หัวหน้าสาขาวิชา /หัวหน้างานพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน เรื่องที่ยังไม่ได้ดำเนินการมากที่สุดคือ การสนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะให้แก่ สถานประกอบการ ชุมชน ผู้ปกครองและนักศึกษา 2. ความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรมเพื่อการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะด้านความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการปฏิบัติของครูผู้สอน จัดเรียงลำดับได้ดังนี้ 1) ด้านการออกแบบและการจัดการเรียนการสอนแบบฐานสมรรถนะครูผู้สอน 2) ด้านการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ แบบฐานสมรรถนะ 3) ด้านการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ และ 4) ด้านการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะ

Abstract: The purposes of this research were 1) to study the practice of the director, assistant director, heads of the department, heads of the division and head of the curriculum development of competency–based learning management. 2) to conduct needs assessment of training for competency-based learning management of Industrial trades teachers of colleges in the central region under the jurisdiction of Office of Vocational Education Commission (OVEC). The samples comprised 3 groups: Group 1 consisted of 81 college administrators, Group 2 included 158 heads of department/ heads of division/ heads of curriculum development section, and Group 3 included 265 teachers. The research instruments were 3 sets of questionnaire. The data were analyzed by using basic statistics, priority needs index modified (PNImodified) and priority needs index. The results of research revealed that : 1. The administrators have not yet set the criteria for assessing, following up, and evaluation training projects concerning competency-based learning management while the heads of department, division or curriculum development section have not yet support the facilities for competency-based learning management for enterprises, community, parents and students. 2. The needs of teachers at the highest level in the area of competency-based learning & on knowledge and understanding can be summarized in the following order : 1) the design and management of competency-based learning for teachers. 2) competency-based learning plans. 3) competency-based curriculum development. 4) competency-based learning management.


รายการอ้างอิง
ดาวรุ่ง  อินนอก (2552) การประเมินความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรม
เพื่อการจัดการเรียนรู้แบบฐานสมรรถนะของข้าราชการครู สาขาช่างอุตสาหกรรมของสถานศึกษากลุ่มภาคกลาง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาบริหารอาชีวะและเทคนิคศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.














ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แนวทางการแก้ปัญหาในการบริหารการศึกษาและแนวโน้มในอนาคต

 RED 7316 หัวข้อพิเศษทางนวัตกรรมการบริหารการศึกษา แนวทางการแก้ปัญหาในการบริหารการศึกษาและแนวโน้มในอนาคต นักศึกษาปริญญาโท นวัตกรรมการบริหารการศึกษา วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วันเสาร์ที่  12  มีนาคม 2564 เวลา 9.00-16.00 น. (พัก 15 นาที 10.30-10.45 น.) (พักรับประทานอาหารกลางวัน   12.00-13.00 น.) (พัก 15 นาที 14.40-14.55 น.) **** ช่วงบ่ายเลือกปัญหาในการบริหารการศึกษา เสนอแนวทางแก้ไขปัญหา และแนวโน้มในอนาคต)  ***** แนวทางการแก้ปัญหาในการบริหารการศึกษาและแนวโน้มในอนาคต (10 คะแนน)  - กำหนดให้นักศึกษาทุกท่านเลือกปัญหาของการบริหารการศึกษา  1 เรื่อง  ส่งใน Chat - เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาในมุมมองของการบริหารการศึกษา - เสนอนวัตกรรมในการแก้ไขปัญหาในมุมมองของผู้บริหาร - เสนอแนวโน้มในอนาคต ว่าปัญหาจะคงอยู่  จะลดลง หรือจะหมดไป  ให้ส่งเป็นไฟล์เอกสาร ระบุชื่อ-นามสกุล จำนวน 5 หน้ากระดาษ A4 ---------------------------------------------------------------------------------------- วิทยากร  ศาสตราจารย์ ดร.ปรัชญนันท์  นิลสุข | ภาควิชาครุศาสตร์เทคโนโลยีและสารสนเทศ

การจัดการเรียนการสอนวิชาสารสนเทศศาสตร์ในประเทศไทย

  การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสังเคราะห์หลักสูตรระดับปริญญาตรีที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพสารสนเทศในประเทศไทยและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เอกสาร (Content Analysis) จากหลักสูตร เว็บไซต์ และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  ซึ่งผลการวิจัยมี 3 ข้อดังนี้ 1) หลักสูตรที่เปิดสอนในระดับปริญญาตรีในประเทศไทย มีทั้งหมด 34 หลักสูตร   ใช้ชื่อที่แตกต่างกัน 9 สาขาวิชา แบ่งเป็นกลุ่มสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ จำนวน 9 หลักสูตร  กลุ่มสาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ จำนวน 19 หลักสูตร และกลุ่มสาขาวิชาการจัดการสารสนเทศ  จำนวน 6 หลักสูตร ส่วนมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนจำแนกเป็น  มหาวิทยาลัยของรัฐที่เปิดสอนมี 8 แห่ง  มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐที่เปิดสอนมี 7 แห่ง  มหาวิทยาลัยราชภัฏที่เปิดสอนมี 16 แห่ง และมหาวิทยาลัยเอกชนที่เปิดสอนมี 3 แห่ง  2) โครงสร้างหลักสูตรของหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพสารสนเทศ ส่วนใหญ่กำหนดจำนวนหน่วยกิตวิชาบังคับตั้งแต่ 31-46 หน่วยกิต (ร้อยละ 52.94)  และกำหนดจำนวนหน่วยกิตวิชาเลือกตั้งแต่ 22-32 หน่วยกิต (ร้อยละ 29.41) 3) รายวิชาในหลักสูตรที่เกิดจากการสังเ