ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การเสริมสร้างสมรรถนะเฉพาะทางของครูช่างสาขาอุตสาหกรรมศึกษาโดยใช้การเรียนรู้โครงงานเป็นฐานแบบ DAPOA ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

 

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้นำเสนอการเสริมสร้างสมรรถนะเฉพาะทางของครูช่างสาขาอุตสาหกรรมศึกษาโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้โครงงานเป็นฐานแบบ DAPOA ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ การจัดการเรียนการสอนมีการบูรณาการวิธีการสอนทั้งทางทฤษฎีและทางปฏิบัติโดยใช้รูปแบบของโครงงานเป็นฐานแบบ DAPOA ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอนการเรียนรู้ ได้แก่ 1) ขั้นการกำหนดหัวข้อ 2) ขั้นการวิเคราะห์ 3) ขั้นการวางแผนและออกแบบ 4) ขั้นการดำเนินงาน และ 5) ขั้นการประเมินผล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา จำนวน 20 คน ประจำปีการศึกษา 2561-2562 หลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จังหวัดลพบุรี การวัดและประเมินผลด้านสมรรถนะของผู้เรียนใช้การวิเคราะห์ทักษะการปฏิบัติงานทั้งในชั้นเรียนและผลการประเมินจากสถานศึกษา ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเรียนรู้โครงงานเป็นฐาน DAPOA มีความเหมาะสมเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก นักศึกษาฝึกสอนสาขาอุตสาหกรรมศึกษามีสมรรถนะของครูช่างอุตสาหกรรมทั้งด้านความรู้และปฏิบัติการหลังจากการผ่านการฝึกปฏิบัติการวิชาชีพสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และมีผลสัมฤทธิ์ทางด้านการปฏิบัติการสอนโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนรู้ DAPOA มีค่าเฉลี่ย (E1/E2) เท่ากับร้อยละ 80.28/82.89 ซึ่งสามารถส่งเสริมให้นักศึกษาฝึกสอนมีความรู้และทักษะในการสอนหลักสูตรทางด้านอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามนักการศึกษาควรตระหนักและให้ความสำคัญในการพัฒนางานวิจัยสำหรับการจัดการเรียนการสอนเพื่อเสริมและเพิ่มทักษะใหม่ให้กับครูช่างอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง สำหรับรองรับกับเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว


รายการอ้างอิง

พิชิต อ้วนไตร และสมศักดิ์ อรรคทิมากูล (2564) การเสริมสร้างสมรรถนะเฉพาะทางของครูช่างสาขาอุตสาหกรรมศึกษาโดยใช้การเรียนรู้โครงงานเป็นฐานแบบ DAPOA ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. ปีที่ 16 ฉบับที่ 2 (2021): พฤษภาคม-สิงหาคม; หน้า 190-200.










ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แนวทางการแก้ปัญหาในการบริหารการศึกษาและแนวโน้มในอนาคต

 RED 7316 หัวข้อพิเศษทางนวัตกรรมการบริหารการศึกษา แนวทางการแก้ปัญหาในการบริหารการศึกษาและแนวโน้มในอนาคต นักศึกษาปริญญาโท นวัตกรรมการบริหารการศึกษา วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วันเสาร์ที่  12  มีนาคม 2564 เวลา 9.00-16.00 น. (พัก 15 นาที 10.30-10.45 น.) (พักรับประทานอาหารกลางวัน   12.00-13.00 น.) (พัก 15 นาที 14.40-14.55 น.) **** ช่วงบ่ายเลือกปัญหาในการบริหารการศึกษา เสนอแนวทางแก้ไขปัญหา และแนวโน้มในอนาคต)  ***** แนวทางการแก้ปัญหาในการบริหารการศึกษาและแนวโน้มในอนาคต (10 คะแนน)  - กำหนดให้นักศึกษาทุกท่านเลือกปัญหาของการบริหารการศึกษา  1 เรื่อง  ส่งใน Chat - เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาในมุมมองของการบริหารการศึกษา - เสนอนวัตกรรมในการแก้ไขปัญหาในมุมมองของผู้บริหาร - เสนอแนวโน้มในอนาคต ว่าปัญหาจะคงอยู่  จะลดลง หรือจะหมดไป  ให้ส่งเป็นไฟล์เอกสาร ระบุชื่อ-นามสกุล จำนวน 5 หน้ากระดาษ A4 ---------------------------------------------------------------------------------------- วิทยากร  ศาสตราจารย์ ด...

การจัดการเรียนการสอนวิชาสารสนเทศศาสตร์ในประเทศไทย

  การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสังเคราะห์หลักสูตรระดับปริญญาตรีที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพสารสนเทศในประเทศไทยและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เอกสาร (Content Analysis) จากหลักสูตร เว็บไซต์ และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  ซึ่งผลการวิจัยมี 3 ข้อดังนี้ 1) หลักสูตรที่เปิดสอนในระดับปริญญาตรีในประเทศไทย มีทั้งหมด 34 หลักสูตร   ใช้ชื่อที่แตกต่างกัน 9 สาขาวิชา แบ่งเป็นกลุ่มสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ จำนวน 9 หลักสูตร  กลุ่มสาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ จำนวน 19 หลักสูตร และกลุ่มสาขาวิชาการจัดการสารสนเทศ  จำนวน 6 หลักสูตร ส่วนมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนจำแนกเป็น  มหาวิทยาลัยของรัฐที่เปิดสอนมี 8 แห่ง  มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐที่เปิดสอนมี 7 แห่ง  มหาวิทยาลัยราชภัฏที่เปิดสอนมี 16 แห่ง และมหาวิทยาลัยเอกชนที่เปิดสอนมี 3 แห่ง  2) โครงสร้างหลักสูตรของหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพสารสนเทศ ส่วนใหญ่กำหนดจำนวนหน่วยกิตวิชาบังคับตั้งแต่ 31-46 หน่วยกิต (ร้อยละ 52.94)  และกำหนดจำนวนหน่วยกิตวิชาเลือกตั้งแต่ 22-32 หน่วยกิต (ร้...

Digital Literacy: A Palestinian Refugee Perspective

  Digital Literacy: A Palestinian Refugee Perspective Traxler, John Research in Learning Technology , v26 2018 This paper is the first attempt to explore digital literacy in the specific context of the Palestinian refugee community in the Middle East by looking at the cultural specificity of digital literacy theorising and practice, by analysing current digital education policy in the countries hosting the Palestinian refugee community and by documenting the digital environment of the Palestinian refugee. It identifies the distance or deficit between the community's current access to digital literacy education, appropriately defined, and its digital environment, needs and opportunities. Finally, the paper provides a brief agenda for further empirical research. Descriptors:  Technological Literacy ,  Refugees ,  Foreign Countries ,  Educational Policy ,  Theory Practice Relationship ,  Technology Education ,  Information Technology ,  Semitic ...